หน้าแรก เกี่ยวกับบริษัท สินค้าและบริการ Refrigeration Knowleage ติดต่อเรา
 
      หน้าแรก
 
      เกี่ยวกับบริษัท
 
      สินค้าและบริการ
 
      ผลงานของบริษัท
        - งานผลิต
        - ผลงานอ้างอิง
 
      Knowledge

Google

แผนที่สำนักงานใหญ่
 

 

 



 
มาตรฐานระบบคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร
 
 1. กิจกรรม 5 ส การจัดระเบียบและปรับปรุงสถานประกอบกิจการ
          5 ส เป็นกิจกรรมพื้นฐาน ซึ่งเป็นการปูพื้นฐานการจัดการในองค์กร ในการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ทั้งด้านการผลิต คุณภาพ
ต้นทุน การจัดส่ง ความปลอดภัย ขวัญกำลังใจ และสภาพแวดล้อม ประกอบด้วยขั้นตอน 5 ขั้นตอนคือสะสาง, สะดวก, สะอาด, สุขลักษณะ
และสร้างนิสัย และเป้าหมายของ 5 ส คือ การสร้างนิสัยให้บุคลากรในองค์กรมีระเบียบวินัย และรักษาแวดล้อมประกอบด้วยขั้นตอน 5
ขั้นตอน คือ สะสาง, สะดวก, สะอาด, สุขลักษณะ และ สร้างนิสัย และเป้าหมายของ 5 ส คือ การสร้างนิสัยให้บุคลากรในองค์กรมีระเบียบ
วินัย และรักษาสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่
 
 2. GMP (Good Manufacturing Practice) หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร
          เป็นเกณฑ์หรือข้อกำหนดขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิต และควบคุมเพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตาม และทำให้สามารถผลิตอาหารได้
อย่างปลอดภัย โดยเน้นการป้องกันและขจัดความเสี่ยงที่อาจจะทำให้อาหารเป็นพิษเป็นอันตรายหรือเกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค
GMP มี 2 ประเภทดังนี้
          - GMP สุขลักษณะทั่วไป หรือ General GMP เป็นหลักเกณฑ์ที่นำไปใช้ปฏิบัติสำหรับอาหารทุกประเภท
          - GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ หรือ Specific GMP เป็นข้อกำหนดที่เพิ่มเติมจาก GMP ทั่วไปเพื่อมุ่งเน้นในเรื่องความเสี่ยง และความ
ปลอดภัยของแต่ละผลิตภัณฑ์อาหารเฉพาะมากยิ่งขึ้น
          หลักการของระบบ GMP จะครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ตั้งของสถานประกอบการ โครงสร้างอาคารระบบการผลิตที่ดีมีความความภัย
และมีคุณภาพได้มาตรฐานทุกขั้นตอน นับตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนการผลิตระบบควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบระหว่างการผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
การจัดเก็บการควบคุมคุณภาพและการขนส่งจนถึงผู้บริโภค มีระบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบและติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์รวมถึงระบบ
การจัดการที่ดีในเรื่องสุขอนามัย (Sanitation และHygiene) เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายมีคุณภาพและความปลอดภัยเป็นที่มั่นใจเมื่อ
ถึงมือผู้บริโภคทั้งนี้ GMP ยังเป็นระบบประกันคุณภาพขั้นพื้นฐานก่อนที่จะพัฒนาไปสู่ระบบประกันคุณภาพอื่น ๆ ต่อไปเช่นระบบ HACCP
(Hazards Analysis and Critical Control Points) และ ISO 9000 อีกด้วย
 
 3. HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point) ระบบวิเคราะห์อันตรายและควบคุมจุดวิกฤต
          ระบบคุณภาพอาหารที่สูงขึ้นไปอีกก็คือ ระบบวิเคราะห์อันตรายและควบคุมจุดวิกฤต ซึ่งการที่ผู้ผลิตจะดำเนินการจัดทำระบบนี้
ต้องมีพื้นฐานในเรื่องระบบ GMP ที่ดีเสียก่อน ปัจจุบันในวงการอุตสาหกรรมต่างๆ ยอมรับว่าระบบบริหารคุณภาพเป็นระบบที่ให้ธุรกิจอยู่
รอด และเติบโตได้ระยะยาว หลายประเทศเริ่มกำหนดกฎหมายบังคับให้ผู้ประกอบการต้องนำระบบ HACCP มาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้แก่อาหารที่ผลิตขึ้น และในปี 2540 องค์การมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (Codex) ร่วมกับ เอฟ เอ โอ/
ดับบลิว เอช โอ(FAO/WHO) ประกาศใช้ข้อแนะนำสำหรับการนำระบบการวิเคราะห์อันตราย และจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Codex
Alimentarius Supplement to Volume 1B-1997; Annex to CAC/RCP-1 (1969), Rev.3 (1997) : Hazard Analysis and Critical
Control Point (HACCP) System and Guidelines for its Application) เป็นข้อกำหนดสากลโดยรวมหลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับ
สุขลักษณะอาหาร (Recommendation Codex Code of Practices : General Principle for Food Hygiene) เป็นโปรแกรมพื้นฐานที่
ต้องดำเนินการ
 หลักการของระบบ HACCP
          หลักการของระบบ HACCP ครอบคลุมถึงการป้องกันปัญหาจากอันตราย 3 สาเหตุ ได้แก่ อันตรายทางชีวภาพซึ่งเป็นอันตราย
จากเชื้อจุลินทรีย์ อันตรายจากสารเคมี ได้แก่ สารเคมีที่ใช้ในการเพาะเลี้ยง เพาะปลูก ในกระบวนการผลิตวัตถุดิบอาทิ สารปฏิชีวนะ
สารเร่งการเจริญเติบโต สารเคมีกำจัด ศัตรูพืช สารเคมีที่ใช้เป็นวัตถุเจือปนในอาหาร เช่น วัตถุกันเสีย และสารเคมีที่ใช้ในโรงงาน เช่น
เช่น น้ำมันหล่อลื่นจาระบี สารเคมีทำความสะอาดเครื่องจักรอุปกรณ์ในโรงงาน เป็นต้น และอันตรายทางกายภาพสิ่งปลอมปนต่าง ๆ
อาทิ เศษแก้ว เศษกระจก โลหะ อันตรายทางชีวภาพเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญมากที่สุดในระบบ HACCP เนื่องจาก อันตรายประเภท
อื่นมีขอบเขตการก่อให้เกิดปัญหาต่อผู้บริโภคในวงจำกัด และบางครั้งผู้บริโภคสามารถ ตรวจพบได้ด้วยตัวเอง แต่การบริโภคอาหารที่
ปนเปื้อนด้วยจุลินทรีย์นั้น อาจส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคโดยแพร่หลายและพิษที่เกิดขึ้นอาจรุนแรงจนถึงชีวิตได้ ระบบ HACCP ประกอบ
ด้วยหลักการ 7 ข้อ ดังนี้
 1. ดำเนินการวิเคราะห์อันตราย (Conduct a hazard analysis)
 2. หาจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Determine the critical control point CCPs)
 3. กำหนดค่าวิกฤต (Establish critical limit)
 4. กำหนดระบบเพื่อเฝ้าระวังจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Establish a system to monitor control of the CCP)
 5. กำหนดวิธีแก้ไข เมื่อตรวจพบว่าจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมเฉพาะจุดใดจุดหนึ่งไม่อยู่ภายใต้การควบคุม (Establish the corrective action
 to be taken when monitoring indicates that a particular CCP is not under control)
 6. กำหนดการทวนสอบเพื่อยืนยันประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบ HACCP (Establish procedures for verification to confirm
 that the HACCP system is working effectively)
 7. กำหนดเอกสารที่เกี่ยวข้องกับวิธีการปฏิบัติและบันทึกข้อมูลต่างๆที่เหมาะสม
 
 4. มอก. 9000-2544 (ISO 9000 : 2000) มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ
          เป็นระบบการบริหารงานคุณภาพซึ่งมีข้อกำหนดหลัก 4 หัวข้อใหญ่ๆ คือ ระบบการจัดการคุณภาพ, ความรับผิดชอบด้านการผลิต/
 บริการ, การจัดการทรัพยากร และการผลิต (และ/หรือการบริการ) อนุกรมมาตรฐาน มอก. ISO-9000 แบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 ฉบับหลัก
 ได้แก่ ISO 9000, ISO 9001, ISO 9002, ISO 9003 และ ISO 9004 โดยแต่ละฉบับมีเนื้อหาโดยสรุปคือ แยกย่อยเป็น
 ISO 9000 - 1 เป็นข้อแนะนำการเลือกใช้
 ISO 9000 - 2 เป็นแนวทางทั่วไปในการเลือกและการประยุกต์ใช้มาตรฐานในชุดนี้ให้เหมาะสม
 ISO 9000 - 3 เป็นแนวทางในการนำ ISO 9001 ไปพัฒนาประยุกต์ใช้
 ISO 9000 - 4 เป็นข้อแนะนำในเรื่องการจัดการที่น่าเชื่อถือ
 ISO 9001 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพซึ่งกำกับดูแลทั้งการออกแบบและพัฒนา การผลิต การติดตั้งและการบริการ
 ISO 9002 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพซึ่งกำกับดูแลเฉพาะการผลิต การติดตั้ง และการบริการ
 ISO 9003 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพซึ่งกำกับดูแลเรื่องการตรวจและการทดสอบขั้นสุดท้าย
 ISO 9004 เป็นแนวทางในการบริหารงานคุณภาพเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเป็นข้อแนะนำในการจัดการในระบบคุณภาพซึ่งจะมี
 การกำหนดย่อยในแต่ละประเภทธุรกิจ เช่น
 ISO 9004 - 1 ข้อแนะนำการใช้มาตรฐาน
 ISO 9004 - 2 ข้อแนะนำการใช้สำหรับธุรกิจบริการ
 ISO 9004 - 3 ข้อแนะนำกระบวนการผลิต เป็นต้น
 
          มาตรฐานระบบคุณภาพที่ใช้เพื่อให้การรับรองนั้นมีด้วยกันเพียง 3 มาตรฐานคือ ISO 9001, ISO 9002 และ ISO 9003 ส่วน ISO 9000
 เป็นข้อแนะนำให้ผู้ประกอบการเลือกว่าจะนำมาตรฐานใดไปใช้ให้เหมาะสมกับการดำเนินงานขององค์กรของตนโดยใช้ ISO 9004 เป็น
 แนวทางในการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ
 5. ISO 22000 : 2005 มาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร
          เป็นระบบสากลที่เพิ่งนำมาใช้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการจัดการระบบอาหารปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อาหาร เป็นระบบที่เชื่อม
 โยงระหว่าง ISO 9001 กับ ระบบ HACCP โดยมีหัวข้อหลักใหญ่ๆ คือ
 1. ระบบการจัดการอาหารปลอดภัย
 2. ความรับผิดชอบด้านการจัดการ
 3. ทรัพยากรมนุษย์
 4. การวางแผนและการคำนึงถึงผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย
 5. การทวนสอบและปรับปรุงระบบการจัดการอาหารปลอดภัย